การสำรวจเส้นทางเป็นการสำรวจทั้งหมดที่จำเป็นในการดำเนินงานสำหรับการออกแบบและก่อสร้างในงานวิศวกรรม เช่น งานทางหลวง งานท่อ งานชลประทาน หรืองานทางรถไฟ
การสำรวจเส้นทางมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดระหว่างสถานีต้นทางและสถานีปลายทาง โดยคำนึงถึงความเหมาะสมของการวางแนวเส้นทาง ระดับเส้นชั้นความชัน และรายละเอียดอื่นๆของเส้นทางที่เลือก
การสำรวจเส้นทางสามารถแบ่งออกเป็น
1. การสำรวจเบื้องต้น
2. การสำรวจขั้นต้นในสนาม
3. การสำรวจเพื่อการออกแบบ
4. การสำรวจเพื่อการก่อสร้าง
1. การสำรวจเบื้องต้น (Reconnaissance)
การตรวจตราพื้นที่เป็นหน้าที่ของวิศวกรที่มีประสบการณ์มีความรู้ในเรื่องภูมิประเทศ
ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและวางแผนงานต่างๆของโครงการ
วัตถุประสงค์ของการสำรวจคือการรวบรวมข้อมูลภูมิประเทศระหว่างต้นทางและปลายทาง เพื่อใช้ในการเลือกวางเส้นแนวทางเป็นการสำรวจอย่างรวดเร็วและหยาบ มีขั้นตอนการสำรวจดังนี้
1. รวบรวมและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่
2. ตรวจสอบพื้นที่โดยเทคโนโลยี (เว็บไซต์)
3. กำหนดระดับความสูงและระยะทางโดยประมาณ
4. เตรียมรายงานเบื้องต้น
วัตถุประสงค์ของการสำรวจคือการรวบรวมข้อมูลภูมิประเทศระหว่างต้นทางและปลายทาง เพื่อใช้ในการเลือกวางเส้นแนวทางเป็นการสำรวจอย่างรวดเร็วและหยาบ มีขั้นตอนการสำรวจดังนี้
1. รวบรวมและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่
2. ตรวจสอบพื้นที่โดยเทคโนโลยี (เว็บไซต์)
3. กำหนดระดับความสูงและระยะทางโดยประมาณ
4. เตรียมรายงานเบื้องต้น
2. การสำรวจขั้นต้นในสนาม (Preliminary Survey)
จากการตรวจตราพื้นที่ก่อนหน้านี้จะถูกกำหนดสถานีต้นทางและสถานีปลายทางและเส้นทางที่ผ่าน โดยเลือกจากลักษณะภูมิประเทศ
การสำรวจจะถูกควบคุมความถูกต้องให้แคบลง โดยการดำเนินการตามยาว (Profile) และตามขว้าง (Cross-Section) การสำรวจขั้นต้นสำรวจควรมีข้อมูลต่อไปนี้
1. สิ่งก่อสร้างใกล้ๆบริเวณเส้นทาง
2. ลักษณะพื้นที่และการควบคุม
3. การเข้าถึงเส้นทาง
4. ความพร้อมของแรงงานในท้องถิ่น
การสำรวจขั้นต้นสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
1. วิธีการควบคุมการสำรวจ
2. ระดับของพื้นที่
3. ภาพวาดรายละเอียดภูมิประเทศ เช่น แผนรายละเอียด ภาพวาดตามยาวและตามขว้าง
3. การสำรวจเพื่อการออกแบบ (Location Survey)
การสำรวจเพื่อการออกแบบที่แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน
1. การสำรวจในสำนักงาน
2. การสำรวจภาคสนาม
4. การสำรวจเพื่อการก่อสร้าง (Construction Survey)